ปั้มลม (Air Compressor) คือ เครื่องมือที่มีความสำคัญในระบบนิวเมติก (ระบบลม) จะมีหน้าที่เป็นตัวต้นกำลังทำการสร้างแรงดันลมให้ได้ตามที่เราต้องการ เพื่อนำไปใช้งานโดยจะมีถังเก็บลมขนาดต่างๆ เช่น 25,50,100,200 ลิตร ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในงานต่างๆ โดยปรกติ ระบบนิวแมติก หรือระบบลม แรงดันที่เหมาะสมและคุ้มค่าจะอยู่ 6-8 bar
เราแบ่งประเภทของปั้มลมได้ 6 ประเภท
1.ปั้มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR)
2.ปั้มลมแบบสกรู (SCREW COMPRESSOR)
3.ปั้มลมแบบไดอะเฟรม (DIAPHARGM COMPRESSOR)
4.ปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน (SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR )
5.ปั้มลมแบบใบพัดหมุน ( ROOTS COMPRESSOR )
6.ปั้มลมแบบกังหัน ( RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR )
ในที่นี้เราจะกล่าวถึงปั้มลมขนาดเล็ก แบบลูกสูบ (Piston Air Compressor ) เป็นปั้มลมขนาดเล็กที่นิยมใช้มากที่สุด ด้วยราคา และความเหมาะสมต่อการใช้งาน สามารถอัดอากาศได้ 1 bar – 1000 bar เราจึงพบเห็นการใช้ปั้มลมแบบนี้กันทั่วไป เช่น ร้านปะยาง อู่ซ่อมรถ เครื่องพ่นสี บริการล้างรถ งานไม้เฟอร์นิเจอร์ฯลฯ
วิธีการเลือกซื้อปั้มลมขนาดเล็ก
1. แรงดันลมที่จะใช้งานต้องพอสำหรับอุปกรณ์ที่จะใช้ โดยปรกติ ที่อุปกรณ์จะเป็นตัวกำหนด
2. ปริมาณลมที่ต้องการใช้แบบต่อเนื่องคำนวณได้ จากอุปกรณ์ที่เราใช้
3. ระบบไฟฟ้า ที่จะนำมาใช้ต้องเป็นระบบเดียวกัน
4. ขนาดของถังเก็บลมต้องเพียงพอ และเหมาะสมกับงานที่ใช้
ปั้มลม NORVAX เป็น ROTARY AIR COMPRESSOR ขนาดเล็ก ใช้พลังงานขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 220v
มีจำหน่ายอยู่ 2 ขนาด คือ 25 ลิตร และ 50 ลิตร
การทำงาน ของปั้มลมมีหลักการทำงานคล้ายปั้มน้ำอัตโนมัติ คือ เมื่อปั้มลมทำงานก็จะ ดูดลมจากบรรยากาศแล้วอัดลมเข้าไปเก็บไว้ในถังจนถึงระดับแรงดันที่ตั้งไว้ปั้มลมก็จะหยุดทำงาน จนมีการใช้ลมออกไป เมื่อลมถูกใช้ไปแรงดันก็จะลดลงจนถึงระดับแรงดันด้านต่ำสุดที่เราได้ตั้งไว้ เครื่องปั้มลมก็จะเริ่มทำงานอีก สลับกันไปจนกว่าจะหยุดใช้งาน
ปัญหาและการแก้ไข
ข้อควรระวังก่อนและหลัง การใช้งาน
1.เปลี่ยนตัวอุดช่องเติมน้ำมันเป็นตัวอุดสีแดงที่เตรียมมาให้
2.ติดตั้งตัวกรองฝุ่นด้านบนของตัวนั้น
3.ตรวจดูระดับน้ำมันตรงช่องดูน้ำมันจะต้องมีน้ำมันอยู่มากกว่าขีดหรือตรงกลางถ้าต่ำกว่าต้องเติมน้ำมันเพิ่ม(SAE 30)
4.ถอดปลั๊กและปล่อยลมอออกจนหมดก่อน ที่จะทำการเคลื่อนย้ายซ่อมหรือติดตั้งปั๊มลม
5.ปล่อยน้ำออกจากใต้ถังทุกวันป้องกันการเกิดสนิม
6.ทดสอบวาล์วนิรภัยทุกวันโดยการดึงเพื่อให้แน่ใจว่ายังทำงานเป็นปกติและไม่มีการอุดตัน
การติดตั้งควรห่างจากผนัง 1 ฟุตเพื่อการระบายความร้อนที่เหมาะสม ตรวจดูการต่อสายไฟและข้อต่อต่างๆอยู่ในสภาพสมบูรณ์
ขนาดสายไฟที่แนะนำ กรณีนี้ใช้กับสายยาว 10-50 M
การบำรุงรักษา
1.ทำความสะอาดตัวเครื่องและเปลี่ยนน้ำมันเมื่อใช้งานครบ 10 ชม.
2.ทำความสะอาดที่ดูน้ำมัน ทุก 20 ชม.และเปลี่ยนถ้าจำเป็น
3.คลายน๊อตระบายน้ำที่กลั้นตัวในถังลม ทุก 60 ชม.
4.ทำความสะอาดตัวปั๊ม,ตัวกรองอากาศ,ตรวจเช็ควาล์วนิรภัย,วาล์วปรับแรงดัน,เพลาตัววัดแรงดัน ทุก 60 ชม.
Tel.: 02-1155000
Hotline : 098-289-9999
Line ID : @tngroupfan
Facebook : TN Group-ศูนย์รวมสินค้าอุตสาหกรรม
Email : info@tnmetalworks.com
Website: http://www.tngroup.co.th