พาวเวอร์ซัพพลายมีกี่แบบ? แยกตามการใช้งานและคุณสมบัติ
หน้าหลัก
/
บทความ
/
พาวเวอร์ซัพพลายมีกี่แบบ? แยกตามการใช้งานและคุณสมบัติ

พาวเวอร์ซัพพลายมีกี่แบบ? แยกตามการใช้งานและคุณสมบัติ

พาวเวอร์ซัพพลายมีหลายประเภทซึ่งควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับการใช้งาน

สำหรับในปัจจุบันเราจะพบว่าพาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้สำหรับแปลงพลังงานไฟฟ้าให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือ อิเล็กทรอนิกส์แต่ละประเภท โดยพาวเวอร์ซัพพลายสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามการใช้งาน และ คุณสมบัติหลักของมัน ซึ่งในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับประเภทของพาวเวอร์ซัพพลายที่นิยมใช้งาน พร้อมทั้งการแยกประเภทตามลักษณะการทำงาน และ คุณสมบัติที่สำคัญ เพื่อให้สามารถเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม

แบ่งประเภทของพาวเวอร์ซัพพลายตามหลักการทำงานคุณสมบัติ

  1. พาวเวอร์ซัพพลายแบบเชิงเส้น (Linear Power Supply)
    พาวเวอร์ซัพพลายประเภทนี้จะใช้หม้อแปลงไฟฟ้า และ วงจรปกติไฟเออร์เพื่อแปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ข้อดีของพาวเวอร์ซัพพลายแบบเชิงเส้น คือ ให้แรงดันไฟฟ้าที่มีความเสถียรสูง และ สัญญาณรบกวนต่ำ แต่มีข้อเสียคือน้ำหนักมาก และ มีประสิทธิภาพต่ำเนื่องจากมีการสูญเสียพลังงานในรูปของความร้อน

  2. พาวเวอร์ซัพพลายแบบสวิตชิ่ง (Switching Power Supply)
    พาวเวอร์ซัพพลายแบบสวิตชิ่งใช้เทคโนโลยีการสวิตชิ่งที่ช่วยให้การแปลงพลังงานมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบเชิงเส้น ซึ่งทำงานโดยการสับเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าด้วยความเร็วสูง ซึ่งช่วยลดขนาด และ น้ำหนักของอุปกรณ์ ทำให้ได้รับความนิยมในการใช้งานที่ต้องการความกะทัดรัด และ ประหยัดพลังงาน อย่างไรก็ตาม พาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้อาจมีสัญญาณรบกวนสูงกว่าเมื่อเทียบกับแบบเชิงเส้น

แบ่งประเภทของพาวเวอร์ซัพพลายตามหลักการใช้งาน

  1. พาวเวอร์ซัพพลายสำหรับคอมพิวเตอร์ (Computer Power Supply)
    เป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้สำหรับจ่ายพลังงานให้กับคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองประเภทหลักคือ ATX Power Supply ซึ่งใช้ในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทั่วไป และ SFX Power Supply ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าและใช้ในเคสขนาดเล็กหรือมินิพีซี

  2. พาวเวอร์ซัพพลายสำหรับอุตสาหกรรม (Industrial Power Supply)
    พาวเวอร์ซัพพลายประเภทนี้ใช้ในงานอุตสาหกรรมที่ต้องการความทนทาน และ ความเสถียรสูง โดยมักเป็นพาวเวอร์ซัพพลายแบบสวิตชิ่งที่สามารถทนต่อสภาวะการใช้งานหนักได้ และ มีระบบป้องกันไฟฟ้ากระชากอีกด้วย

  3. พาวเวอร์ซัพพลายสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Power Supply)
    โดยเป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้สำหรับแหล่งจ่ายไฟของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องเสียง วงจรทดลอง และ อุปกรณ์สื่อสาร มักเป็นพาวเวอร์ซัพพลายแบบเชิงเส้นที่มีสัญญาณรบกวนต่ำ

  4. พาวเวอร์ซัพพลายสำรอง (Uninterruptible Power Supply - UPS)
    UPS เป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่มีแบตเตอรี่สำรองเพื่อให้พลังงานเมื่อไฟฟ้าดับ หรือ เกิดไฟกระชาก จะช่วยป้องกันอุปกรณ์จากความเสียหาย และ รักษาการทำงานของระบบสำคัญ เช่น เซิร์ฟเวอร์ และเครื่องมือแพทย์

  5. พาวเวอร์ซัพพลายสำหรับงานทดลองและวิจัย (Laboratory Power Supply)
    เป็นพาวเวอร์ซัพพลายใช้ในห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบ และ วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า มักเป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่สามารถปรับแรงดัน และ กระแสได้ตามต้องการ

  6. พาวเวอร์ซัพพลายสำหรับโทรคมนาคม (Telecommunication Power Supply)
    พาวเวอร์ซัพพลาย ประเภทนี้ใช้ในระบบเครือข่ายโทรคมนาคมที่ต้องการพลังงานอย่างต่อเนื่อง โดยมักใช้ระบบสำรองพลังงานเพื่อป้องกันการหยุดชะงักของสัญญาณ

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าพาวเวอร์ซัพพลายเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญในหลายๆ ด้าน โดยสามารถแบ่งประเภทตามหลักการทำงานเป็นแบบเชิงเส้น และ แบบสวิตชิ่ง และ สามารถแยกประเภทตามการใช้งานได้หลายประเภท เช่น คอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรม โทรคมนาคม และ งานวิจัย การเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่เหมาะสมกับการใช้งานเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยหากสนใจในอุปกรณ์พาวเวอร์ซัพพลาย เราขอแนะนำ TN Group ผู้ผลิต และ นำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม เช่น พาวเวอร์ซัพพลาย จากทั่วโลก เราจึงเป็นผู้นำในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม งานอาคาร งานราชการ และ งานเกษตรกรรม เราพร้อมนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุด และ หลากหลายที่สุด จึงมั่นใจได้ว่าสินค้าทุกชนิดของเราได้มาตรฐาน และ มีคุณภาพอย่างแน่นอน

ติดต่อสอบถาม

ที่อยู่: สำนักงานใหญ่ เพชรเกษม 91 เลขที่ 18/5 หมู่ที่ 13 ซ.เพชรเกษม 91 ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร 74130

โทร: 02-115-5000

Line ID: @tngroupfan 

บทความที่เกี่ยวข้อง
INDUCTIVE PROXIMITY SENSOR คืออะไร ?
เครื่องดูดฝุ่นบ้าน กับเครื่องดูดฝุ่นอุตสาหกรรม แตกต่างกันอย่างไร?
มารู้จักโบลเวอร์เคลือบไฟเบอร์กลาส
หัวชาร์จรถ EV ในไทย มีแบบไหนบ้าง แบบไหนชาร์จเร็ว?
ติดต่อเรา